NON – GMOs

NON – GMOs


ต้องทราบก่อนว่า GMOs นั้นหมายถึงอะไร ?

GMOs (Genetically Modified Organisms) คือ สิ่งมีชีวิตที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรมเป็นหนึ่งในพันธุวิศวกรรมสมัยใหม่ โดยสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ ได้แก่ พืช สัตว์ หรือแม้แต่จุลินทรีย์ ซึ่งในกระบวนการทดลองนั้น นักวิจัยจะคัดเลือกยีนที่ดีของสิ่งมีชีวิตมาผ่านกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering) โดยตัดต่อใส่เข้าไปในยีนของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง คุณสมบัติจำเพาะตรงตามความต้องการ 

ซึ่งคุณสมบัติพิเศษของการตัดต่อทางพันธุกรรมนี้คือการนำยีนของสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถนำมาผสมพันธุ์กันได้ตามธรรมชาติมาตัดต่อเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ที่มีคุณลักษณะคุณสมบัติจำเพาะตรงตามความต้องการ ปัจจุบันกระบวนการตัดต่อพันธุกรรมของ GMOs มีจุดประสงค์หลัก 3 อย่างได้แก่ ป้องกันการถูกทำลายจากแมลง ป้องกันการติดเชื้อไวรัส ป้องกันการปนเปื้อนของสารฆ่าแมลงบางชนิด

ทำไมต้องผลิตด้วยกระบวนการ GMOs

กระบวนการ GMOs เกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาและข้อด้อยของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร หรือการปศุสัตว์ รวมทั้งเสริมจุดเด่นให้กับผลิตภัณฑ์ จึงทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรมนั้น มีต้นทุนที่ต่ำกว่า และมีคุณประโยชน์มากกว่า โดยเฉพาะพืช GMOs จะมีความต้านทานต่อโรคระบาด และศัตรูพืชสูง นอกจากนี้ ยังให้ปริมาณผลผลิตมากกว่าพืชที่ปลูกโดยวิธีธรรมชาติ จึงเป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมการเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมอาหาร และเพราะเหตุนี้เองจึงทำให้ GMOs ยังคงมีการใช้อย่างแพร่หลายแม้จะยังไม่มีผลวิจัยยืนยันว่าจะส่งผลดีต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมหรือไม่

ความเสี่ยงของ GMOs


ผู้บริโภคมีความกังวลต่อการเกิดสารภูมิแพ้ (allergen) ซึ่งอาจได้มาจากแหล่งเดิมของยีนที่นำมาใช้ทำ GMOs นั้น ตัวอย่าง ที่เคยมีเช่น การใช้ยีนจากถั่ว Brazil nut มาทำ GMOs เพื่อเพิ่มคุณค่าโปรตีนในถั่วเหลืองสำหรับเป็นอาหารสัตว์ จากการศึกษาที่มีขึ้นก่อนที่จะมีการผลิตออกจำหน่าย พบว่าถั่วเหลืองชนิดนี้อาจทำให้คนกลุ่มหนึ่งเกิดอาการแพ้อย่างไร อย่างไรก็ตามพืช GMOs อื่นๆ ที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปในโลกในขณะนี้ เช่น ถั่วเหลืองและข้าวโพดนั้น ได้รับการประเมิน แล้วว่า อัตราความเสี่ยงไม่แตกต่างจากถั่วเหลืองและข้าวโพดที่ปลูกอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน

ความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากสารพิษบางชนิดที่ใช้ปราบแมลงศัตรูพืชที่มีอยู่ใน  GMOs บางชนิดอาจมีผลกระทบต่อแมลงที่มีประโยชน์ ทำให้เกิดผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ  เนื่องจากมีสายพันธุ์ใหม่ที่เหนือกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติหรือลักษณะสำคัญบางอย่างถูกถ่ายทอดไปยังสายพันธุ์ที่ไม่พึงประสงค์หรือแม้กระทั่งการทำให้เกิดการดื้อต่อยา

เนื่องจากสิ่งมีชีวิตที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรมโดยส่วนใหญ่จะมีการนำยีนที่มีคุณสมบัติทนทานต่อการติดเชื้อแบคทีเรียใส่เข้ามาด้วย ทำให้ผลผลิตที่ได้ปลอดจากการติดเชื้อ ทว่ายีนเหล่านั้นจะส่งผลให้เกิดภาวะดื้อยาได้ หากยีนเหล่านี้เล็ดลอดไปผสมกับเชื้อโรคที่อยู่ในร่างกายผู้ที่บริโภคผลิตภัณฑ์ GMOs ก็อาจทำให้เชื้อเหล่านั้นดื้อยา และทำให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะไม่ได้ผล ซึ่งถือเป็นภาวะที่อันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภคเป็นอย่างยิ่ง

การตบแต่งพันธุกรรมในสัตว์ปลอดภัยต่อผู้บริโภคหรือไม่?

เนื่องจากบางกรณีสัตว์ชนิดอื่นที่ได้รับ recombinant growth hormone อาจมีคุณภาพที่แตกต่างไปจากธรรมชาติหรือมีสารตกค้างนั้น ขณะนี้ยังไม่มีข้อยืนยันชัดเจนในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตามสัตว์มีระบบสรีระวิทยาที่ซับซ้อนมากกว่าพืชและเชื้อจุลินทรีย์ ทำให้การตบแต่งพันธุกรรมในสัตว์ อาจทำให้เกิดผลกระทบอื่นๆ ที่ไม่คาดคิดได้ โดยอาจทำให้สัตว์มีลักษณ คุณสมบัติเปลี่ยนไปจึงมีผลทำให้เกิดสารพิษอื่นๆ ที่เป็นสารตกค้างที่ไม่ปรารถนาขึ้นได้ ดังนั้นการตบแต่งพันธุกรรมในสัตว์ที่เป็นอาหารโดยตรงจึงควรต้องมีการพิจารณาขั้นตอนการประเมินความปลอดภัยที่ครอบคลุม

นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดโรคมะเร็ง พืชที่ผ่านการตัดต่อทางพันธุกรรมนั้นทนทานต่อสารเคมีของยาฆ่าแมลงซึ่งช่วยให้ผลผลิตมีคุณภาพที่ดีขึ้น แต่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการตกค้างของสารเคมี ซึ่งอาจนำมาสู่การเกิดโรคมะเร็งในผู้ที่บริโภคผลิตภัณฑ์ GMOs ในอนาคตได้ แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่ได้รับการยืนยันที่แน่ชัด และยังคงอยู่ในระหว่างการศึกษาเพื่อหาคำตอบที่แน่ชัด สุดท้ายนี้การโภชนาการเกิน ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการตัดต่อทางพันธุกรรมอาจทำให้ผู้บริโภคได้รับสารอาหารมากกว่าอาหารที่ได้จากธรรมชาติทั่วไป และอาจมากเกินไปจนก่อให้เกิดโทษต่อร่างกาย โดยเฉพาะเด็กทารกที่อาจเป็นอันตรายได้

ดังนั้น NON – GMOs หมายถึงอะไร ?

ปัจจุบันนี้จำนวนของ GMOs สำหรับใช้ในเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นทุกวัน ดังนั้นภายในกรอบของโครงการที่เรียกว่า NON-GMO มาตรฐานใหม่ได้รับการออกแบบเพื่อตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์นั้นไม่ได้ถูกดัดแปลงพันธุกรรม กล่าวคือ NON-GMO ระบุว่าอาหารนั้นทำขึ้นโดยไม่มีส่วนประกอบที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม